

อยากมีเงินเที่ยวต่างประเทศทุกปีไหม ? รวมวิธีเก็บเงินเที่ยว ฉบับมนุษย์เงินเดือน
Wealth / Money
22 Apr 2024 - 5 mins read
Wealth / Money
SHARE
22 Apr 2024 - 5 mins read
ทำอย่างไรดี ? ถ้าชีวิตขาดเที่ยวไม่ได้
หลังจากตั้งใจทำงานหนักมาตลอด เมื่อถึงเวลาพักร้อนที่ได้หยุดยาวหลายวัน เชื่อว่าเหล่ามนุษย์เงินเดือนหลายคนคงอยากออกไปท่องโลกกว้างหรือท่องเที่ยวในที่ไกล ๆ สักแห่ง เพื่อเติมเต็มแรงบันดาลใจใหม่ ๆ เป็นวิธีชาร์จแบตชีวิตและปลุกไฟให้ตัวเองพร้อมกลับมาทำงานอีกครั้ง
แต่ทุกอย่างอาจสะดุด จนทำให้ใครหลายคนไม่ได้ไปเที่ยวตามที่ใจอยาก เหตุเพราะก่อนหน้านี้ไม่ได้เอาจริงเอาจังกับ ‘การวางแผนเก็บเงินเที่ยว’ กลายเป็นว่า เงินเท่าที่มีอยู่ยังไม่เพียงพอให้ใช้จ่าย ไหนจะค่าเดินทาง ค่าที่พัก ค่ากิน และค่าชอปปิง เพราะการไปเที่ยวแต่ละครั้ง จำเป็นต้องใช้เงินจำนวนไม่น้อย
ถึงอย่างนั้น คนทำงานที่ตั้งเป้าหมายเอาไว้ว่า ‘อยากไปเที่ยวต่างประเทศให้ได้ทุกปี’ ก็ไม่ต้องกังวลกับปัญหาเรื่องเงินอย่างที่เคยประสบมา เพราะ LIVE TO LIFE มีเคล็ดลับ 5 ขั้นตอนที่พร้อมทำให้ทุกคนสามารถเก็บเงินเที่ยวได้อย่างรัดกุม
รับรองว่าเป็นวิธีที่ช่วยสานฝันให้มนุษย์เงินเดือนทุกคนมีเงินเก็บมากพอสำหรับไปเที่ยวต่างประเทศได้อย่างสบายใจ
ถ้าพร้อมแล้ว มาวางแผนเก็บเงินเที่ยวกันเถอะ !
ขั้นตอน 1 :
ถามตัวเองให้ชัด ตอบตัวเองให้ได้
ก่อนหมุดประเทศและเริ่มเก็บเงินเที่ยว
มี ‘คำถามสำคัญ’ 4 ข้อที่อยากให้ทุกคนตั้งใจถามตัวเอง เพราะคำตอบที่ได้จะเป็นตัวช่วยกำหนดทิศทางการวางแผนเก็บเงินเที่ยวต่างประเทศได้ตรงตามความเป็นจริงและมีโอกาสทำสำเร็จได้มากกว่า
- ตั้งงบประมาณที่ต้องการใช้จ่ายตลอดทริปไว้เท่าไหร่ ?
เป็นงบประมาณที่รวมค่าใช้จ่ายทุกอย่างทั้งหมดเพื่อให้เห็นจำนวนเงินก้อนที่ต้องเก็บหอมรอมริบให้ครบต่อไป - เลือกระหว่าง ประเทศที่อยากไปเที่ยวเท่านั้น ไม่สนว่าจะแพงแค่ไหน หรือ ประเทศอื่น ๆ ที่พอจะไปเที่ยวไหวตามงบประมาณที่มี ?
เพื่อไม่ให้เกิดความกดดันมากเกินไป ควรเลือกประเทศตามความพร้อมด้านการเงินและตั้งอยู่บนความเป็นไปได้ - คาดว่าเดินทางเมื่อไหร่ และไปเที่ยวนานกี่วัน ?
สาเหตุที่ต้องระบุช่วงเวลาและจำนวนวันท่องเที่ยวที่แน่นอน เพราะเป็นการกำหนดกรอบเวลาเก็บเงิน ช่วยให้เตรียมตัวได้รัดกุมมากขึ้น - ไปเที่ยวคนเดียวแบบลุยเดี่ยว หรือ มีเพื่อนร่วมทริปไปด้วย ?
เพราะจำนวนคนที่มาก ช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายบางส่วนได้ โดยเฉพาะค่าที่พัก
ยิ่งตอบคำถามแต่ละข้อได้ละเอียดมากเท่าไหร่ ยิ่งมีประโยชน์กับการวางแผนเก็บเงินเที่ยวมากเท่านั้น โดยเฉพาะการปักธงเลือก ‘ประเทศ’ ที่เป็นหมุดหมายปลายทาง เพราะว่าค่าครองชีพของแต่ละประเทศไม่เท่ากัน ซึ่งมีผลต่อค่าใช้จ่ายที่ตามมา
หากเลือกไปเที่ยวที่ประเทศใกล้ ๆ ย่อมใช้เงินน้อยกว่าเลือกไปประเทศที่อยู่ไกล ๆ สำหรับคนที่ยังไม่เคยไปเที่ยวต่างประเทศ อาจเริ่มต้นปักหมุดประเทศในอาเซียนเป็นการชิมลางก่อน เพราะเดินทางง่ายและใช้เงินไม่มาก
เมื่อแน่ใจแล้วว่า ตอบทุกคำถามได้ชัดเจนและครบถ้วน ขั้นตอนต่อไปคือต้องนำข้อมูลเหล่านี้ไปวางแผนการเดินทางท่องเที่ยว หรือที่เรียกว่า ‘แพลนทริป’
ขั้นตอน 2 :
ไปเยือนจุดไหนดี มีกิจกรรมอะไรต้องทำบ้าง
แพลนทริปเที่ยวด้วยตัวเองให้อยู่ในงบฯ
ถ้าไม่อยากให้งบฯ บานปลาย แนะนำให้ตั้งงบฯ ไว้เป็นตัวเลขกลม ๆ ว่า ควรจำกัดวงเงินไว้เท่าไหร่ ? สำหรับการไปเที่ยวต่างประเทศครั้งนี้
งบฯ หรือวงเงินที่ตั้งไว้จะต้องอยู่ในจำนวนที่สมเหตุสมผล หมายความว่า เหมาะสมกับสถานะการเงินของตัวเอง เพื่อป้องกันการใช้จ่ายเกินตัวและช่วยลดความเสี่ยงก่อหนี้โดยไม่จำเป็น
เหตุผลสำคัญที่ต้องแพลนทริปเที่ยวด้วยตัวเองมีอยู่ 2 ข้อด้วยกัน
ข้อแรก เพื่อสร้างความสนุกและกระตุ้นความตื่นเต้น เพราะเป็นขั้นตอนที่สนุกที่สุด ทุกคนสามารถจัดตารางเที่ยวได้ตามความชอบ ซึ่งส่งผลดีในแง่ปลุกเร้ากำลังใจและเพิ่มความฮึกเหิมให้รู้สึกอยากไปเที่ยวตามแพลนที่วางเอาไว้ กลายเป็นแรงผลักดันให้มุ่งมั่นพยายามวางแผนและทำทุกอย่างให้สำเร็จลุล่วงในเร็ววัน
ข้อสอง เพื่อแจกแจงให้เห็นค่าใช้จ่ายทั้งหมดอย่างละเอียดมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อคำนวณตัวเลขออกมาเป็นค่าใช้จ่ายตลอดการเดินทาง ซึ่งรายการค่าใช้จ่ายที่ต้องหาข้อมูลควบคู่ไปพร้อมกับวางแผนทริปมีดังนี้
- ค่าเดินทาง (ค่าตั๋วเครื่องบิน ค่าตั๋วรถโดยสารสาธารณะในต่างประเทศ)
- ค่าที่พัก (เพื่อความสะดวกควรพักแห่งเดียวตลอดทริป)
- ค่าอาหาร (จำกัดจำนวนเงินต่อมื้อ)
- ค่าใช้จ่ายจิปาถะ (ค่าแพ็กเกจเสริมบริการอินเทอร์เน็ตต่างประเทศ ค่าตั๋วเข้าชมสถานที่สำคัญ ค่าเข้าร่วมกิจกรรมที่สนใจ)
- ค่าชอปปิง (มีหรือไม่มีก็ได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละคน ถ้ามี จำเป็นต้องจำกัดจำนวนเงินไว้อย่างชัดเจน)
- เงินสำรอง (เป็นจำนวนเงินที่เผื่อไว้ใช้จ่ายยามฉุกเฉินหรือใช้เพื่อรับมือกับเหตุสุดวิสัย)
หลังจากแพลนทริปและรวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดเสร็จแล้ว ถึงตรงนี้ให้ย้อนกลับไปดูความเป็นไปได้ว่า สามารถเก็บเงินได้ทันภายในระยะเวลา 1 ปี หรือไม่ ?
หากทำไม่ได้ หรือเป็นจำนวนเงินที่เกินกว่างบฯ ที่ตั้งไว้ แนะนำให้ปรับเปลี่ยนแผนใหม่อีกครั้ง อาจตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออก หรือหาตัวเลือกอื่น ๆ ที่มีค่าใช้จ่ายที่ถูกลงและคุ้มค่ากว่า ช่วยป้องกันไม่ให้ค่าใช้จ่ายบานปลายได้
ขั้นตอน 3 :
มีเวลา 1 ปี วางแผนการเงินแบบนี้
เก็บเงินเที่ยวได้ตามเป้าแน่นอน
จำนวนเงินที่ต้องเก็บให้ครบภายใน 1 ปี คือ ‘เป้าหมายหลัก’ ที่คนทำงานตั้งเอาไว้ว่าจะต้องทำให้สำเร็จ เพื่อจะได้มีเงินไปเที่ยวตามแผนที่วางเอาไว้
แต่คนทำงานหลายคน โดยเฉพาะคนที่ยังไม่เคยไปเที่ยวต่างประเทศ อาจมีความคิดทำนองว่า อยากรอให้ตัวเองมีเงินมาก ๆ และพร้อมใช้จ่ายเงินได้เยอะ ๆ กว่านี้ก่อน แล้วค่อยไปเที่ยวทีเดียว ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิดเพราะขึ้นอยู่กับมุมมองและเงื่อนไขของชีวิต เพียงแต่อยากให้ปรับความคิดใหม่ว่า คนที่มุ่งมั่นทำงานหนัก ควรหาเวลาว่างให้ตัวเองได้พักผ่อน
การท่องเที่ยวต่างประเทศจึงเป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์มากที่สุด ส่วนค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นก็เป็นสิ่งที่คนทำงานเองสามารถจัดสรรให้พอเหมาะพอดีกับความต้องการได้
ดังนั้น การวางแผนการเงินเพื่อการท่องเที่ยวให้ได้ตามงบฯ ที่ตั้งเป้าหมายเอาไว้ ขึ้นอยู่กับหลายอย่าง ทั้งรายได้หลักและค่าใช้จ่ายรายเดือน บางคนแบ่งเงินเก็บเพื่อเที่ยวเป็นประจำทุกเดือนอยู่ก่อนแล้ว ก็ต้องทบทวนดูใหม่ว่าเพียงพอหรือไม่ ต้องลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปแล้ว ปรับสัดส่วน การเก็บเงินเที่ยวเพิ่มเติมหรือเปล่า
เพราะการวางแผนสะสมเงินในแต่ละเดือนเพื่อท่องเที่ยว นับเป็นการเก็บเงินเพื่อ ‘เป้าหมายระยะสั้น’ จึงมีข้อควรระวังและคำแนะนำดังนี้
- ควรเก็บเงินไว้ในช่องทางที่เบิกถอนได้สะดวก เช่น ออมเงินในบัญชีเงินฝากประจำระยะสั้นเป็นเวลา 6-12 เดือน
- ไม่ควรนำเงินส่วนนี้ไปลงทุนในเครื่องมือการเงินที่มีความเสี่ยงหรือมีความผันผวนสูง เช่น การลงทุนในหุ้นที่ให้ผลตอบแทนสูง รวมถึงเครื่องมือการเงินที่มีสภาพคล่องต่ำ เช่น การลงทุนที่กำหนดเงื่อนไขในการเบิกถอนเงิน อย่างกองทุนที่เน้นสิทธิประโยชน์ทางภาษี
- หากต้องการลงทุนผ่านกองทุนรวม เพราะต้องการผลกำไรเพิ่มเติมจากเงินต้น ควรเลือกกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น กองทุนรวมพันธบัตรรัฐบาล กองทุนรวมตราสารหนี้ และกองทุนรวมตลาดเงิน
สำหรับคนทำงานที่เก็บออมเงินอย่างเดียว แล้วรู้สึกเสียดายเงินก้อนที่สะสมมา จนไม่อยากนำไปเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยว แนะนำให้มองหาช่องทางสร้างรายได้แหล่งที่สอง สาม สี่เพิ่มเติม เพื่อนำรายได้ส่วนนี้ไปสมทบกับเงินเก็บ ซึ่งจะช่วยผ่อนคลายความกังวลในเรื่องนี้ไปได้เยอะมาก เพราะมีแหล่งรายได้อื่นมาช่วยจุนเจือ นอกเหนือจากรายได้หลัก ขณะเดียวกันก็ช่วยเพิ่มความมั่งคั่งทางการเงินให้กับคนทำงานได้ด้วย
ขั้นตอน 4 :
ข้อคิดจากนักเดินทางตัวยง
ที่มีเงินเที่ยวต่างประเทศทุกปี
อ้างอิงข้อมูลสถิติจากองค์การการท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาชาติ ซึ่งระบุว่า นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2013 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน คนจีนกลายเป็นชาติที่ใช้จ่ายเงินต่อหัวไปกับการท่องเที่ยวต่างประเทศมากที่สุด นำไปสู่คำถามว่า ทำไมคนจีนยืนหนึ่งเรื่องมีเงินเที่ยวต่างประเทศ ?
สาเหตุที่คนจีนมีเงินเที่ยวและมีกำลังจ่ายมากขึ้นเรื่อย ๆ เป็นเพราะหลักคิดเรื่องเงินของคนจีนที่สืบทอดต่อกันมา ทำให้คนจีนขึ้นชื่อเรื่องเก็บเงินเก่ง เพื่อสร้างเนื้อสร้างตัวและทำเป้าหมายในชีวิตให้สำเร็จ ซึ่งภาพจำนี้ยังคงเป็นจริงไม่เปลี่ยนแปลง
โดยเฉพาะการเก็บเงินของคนจีนรุ่นใหม่ ซึ่งเก็บเงินตามแนวคิดที่เรียกว่า 抠抠族 (KouKouZu) หมายถึง ใช้ประหยัด หรือ ใช้เท่าที่จำเป็น คู่กับ Zero Based Thinking หมายถึง ให้วางแผนเก็บเงินโดยเริ่มตั้งต้นจากศูนย์ จากนั้นจินตนาการถึงยอดเงินเอาไว้ เหมือนตัวเองได้เงินก้อนนั้นมาแน่นอน แล้วค่อยกำหนดเป้าหมายย่อย ๆ เป็นขั้นเป็นตอน เพื่อเป็นบันไดไปสู่เป้าหมายใหญ่ในท้ายที่สุด
นอกจากนี้ คนจีนยังให้ความสำคัญกับการซื้อประสบการณ์จากการท่องเที่ยวให้ตัวเอง เพราะมองว่าประสบการณ์เหล่านี้จะคงอยู่ไปตลอดชีวิต เป็นความทรงจำและเรื่องราวดี ๆ ที่หวนคิดถึงได้เสมอ ผลก็คือทำให้มีความสุขมากกว่าซื้อของหรือชอปปิง
เรื่องนี้สอดคล้องกับผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ลงใน Journal of Consumer Psychology ซึ่งยืนยันได้ว่า คนเราไม่อาจซื้อความสุขให้ตัวเองได้โดยตรง แต่ความรู้สึกที่ได้มาจากการใช้เงินสร้างประสบการณ์ต่างหากที่สร้างความสุขให้ชีวิต เมื่อมีการใช้จ่าย เงินที่คนทำงานจ่ายไปเพื่อแลกเปลี่ยนเป็นประสบการณ์กลับมา โดยเฉพาะประสบการณ์เดินทางท่องเที่ยว จะทำให้เกิดความสุขได้มากกว่าการจ่ายเงินซื้อสิ่งของ
นี่จึงเป็นเหตุผลที่คนทำงานควรวางแผนเก็บเงินไปเที่ยวต่างประเทศเพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์ใหม่จากการออกเดินทาง
ขั้นตอน 5 :
เที่ยวอย่างอุ่นใจเพราะมี ‘ประกัน’
สิ่งที่มองข้ามไม่ได้ เพราะกันไว้ย่อมดีกว่า
ย้อนกลับไปในขั้นตอน 2 แม้ว่าจะแนะนำให้สำรองเงินเผื่อไว้ใช้จ่ายยามฉุกเฉินหรือใช้รับมือกับเหตุสุดวิสัย แต่หนทางที่ดีที่สุดคือ การซื้อประกันชีวิตที่คุ้มครองครอบคลุมเรื่องค่าใช้จ่ายหากเจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุขณะเดินทางต่างประเทศ
สำหรับคนทำงานที่วางแผนไปเที่ยวต่างประเทศแล้วกำลังมองหาประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองทั้งในไทยและต่างประเทศ LIVE TO LIFE ขอแนะนำ สัญญาเพิ่มเติม ประกันสุขภาพ Health Fit Ultra
โดยให้ความคุ้มครองด้วยวงเงินค่ารักษาเหมาจ่ายสูงสุด 120 ล้านบาท ระยะเวลาคุ้มครองยาวนานถึงอายุ 99 ปี เพื่อสร้างสวัสดิการการรักษาที่ดีที่สุด และให้ความคุ้มครองตลอด 24 ชั่วโมงทั่วโลก หรือสามารถเลือกพื้นที่ความคุ้มครองได้ พร้อมผลประโยชน์การรักษาพยาบาลทั้งกรณีผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก
ส่วนคำว่า สัญญาเพิ่มเติม หมายถึง สัญญาที่คุ้มครองเพิ่มเติมจากความคุ้มครองที่มากับกรมธรรม์ประกันชีวิตหลัก เป็นการขยายความคุ้มครองตามความต้องการในการใช้ชีวิตของแต่ละคน ข้อดีคือช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับการทำประกันมากยิ่งขึ้น สามารถปรับความคุ้มครองให้เหมาะกับแต่ละสถานการณ์ เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองที่มากขึ้น ช่วยเพิ่มความสบายใจ และลดความเสี่ยงทางการเงิน
* เงื่อนไขเป็นไปตามที่กรมธรรม์กำหนด ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจรายละเอียดของกรมธรรม์ประกันภัยก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
อ้างอิง
- Dunn, E. W., Gilbert, D. T., & Wilson, T. D. (2011). If money doesn't make you happy, then you probably aren't spending it right. Journal of Consumer Psychology, 21(2), 115–125. https://doi.org/10.1016/j.jcps.2011.02.002
- Olivier Verot. Young Chinese Are Trying to Spend Less: Understand China’s Frugal Economy. https://bit.ly/4aOZLj1